วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
จากกฎกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565 ที่ให้มหาวิทยาลัยส่งเสริมการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักการ Outcome-Based Education (OBE) คือหลักการที่เน้นผลลัพธ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้เรียนบรรลุ “ผลลัพธ์การเรียนรู้” ของหลักสูตรเมื่อสำเร็จการศึกษาออกไป และมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นำเกณฑ์ Asian University Network Quality Assurance (AUN-QA) มาใช้ในการวัดคุณภาพการดำเนินงานของหลักสูตร
ซึ่งความสอดคล้องการระหว่างหลักการ OBE และเกณฑ์ AUN-QA คือ หลักสูตรต้องกำหนด “ผลลัพธ์การเรียนรู้” ที่มาจากความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียของหลักสูตร วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัย และต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศ วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ และปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย ที่อนุมัติจกสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2567 ให้บุคลากรทราบและเข้าใจโดยทั่วกัน เพื่อให้อาจารย์นำไปเป็นแนวทางในการจัดทำ “ผลลัพธ์การเรียนรู้” และการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
” มหาวิทยาลัยชั้นนำทางเทคโนโลยี แหล่งวิทยาการเฉพาะทางชั้นสูง
มุ่งสู่การพัฒนานวัตกรรม “
อัตลักษณ์ของบัณฑิต
” บัณฑิตนักปฏิบัติ ที่รู้ทฤษฎี เชี่ยวชาญปฏิบัติในวิชาชีพ “
ปรัญชาการศึกษา
” จัดการศึกษาด้านวิชาชีพเฉพาะทางขั้นสูง ก้าวทันเทคโนโลยี
มุ่งสู่การพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพเพื่อรับใช้สังคม “
บัณฑิตนักปฏิบัติ หมายความว่า ความสามารถใของบัณฑิตที่มีทักษะในการปฏิบัติในวิชาชีพที่ศึกษา มีความรู้ในการปฏิบัติ และ/หรือ ต่อยอดความรู้สู่การพัฒนางาน / สร้างสิ่งใหม่ / สร้างองค์ความรู้ใหม่ มีทักษะในการพัฒนางานหรือมีทักษะในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีทักษะด้านดิจิทัล
ระดับปริญญาตรี หมายความว่า ความรู้ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติต่อยอดความรู้ ปรับใช้ความรู้เพื่อการพัฒนางาน โดยมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองในการปฏิบัติ และการปรับปรุงพัฒนางาน เพื่อการประกอบอาชีพ และทักษะด้านดิจิทัล
ระดับปริญญาโท หมายความว่า ความรู้ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติต่อยอดความรู้ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่เพื่อการค้นพบ และสร้างสิ่งใหม่ที่เป็นที่ยอมรับ โดยมีทักษะการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะการสร้างความรู้ในการปฏิบัติ การคิดริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ เพื่อสร้างความรู้ใหม่เชิงวิชาการหรือวิชาชีพ และทักษะด้านดิจิทัล
ระดับปริญญาเอก หมายความว่า ความรู้ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติต่อยอดความรู้ และเชื่องโยงความรู้ และการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาแบบองค์รวม ซึ่งเป็นที่ยอมรับและอ้างอิงได้ และ/หรือปรับใช้ในบริบทอื่นได้โดยมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะการสร้างความรู้ในการปฏิบัติ การคิดริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ เพื่อสร้างความรู้ใหม่เชิงวิชาการหรือวิชาชีพในระดับที่อ้างอิงหรือปรับใช้ในบริบทอื่นได้ และทักษะด้านดิจิทัล