คำถามที่พบบ่อย ในการใช้งานระบบ CHEQA Online

ระดับหลักสูตร

ต้องถามว่ากรณีที่เจอเป็นแบบไหน

   หากเข้าเว็บไซต์ผ่าน URL: http://www.cheqa.mhesi.go.th แล้วเป็นหน้าจอสีขาว ไม่มีให้เลือกปีการศึกษา ให้เปลี่ยนมาเข้าผ่าน URL ของปีการศึกษานั้นโดยตรง (จะใส่ไว้ให้ที่เว็บไซต์งานประกันคุณภาพการศึกษา)

   หากเข้าแล้วเว็บเบราเซอร์โหลดช้า

   เนื่องจากระบบออนไลน์อยู่บน server ของ สป.อว. และมีมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่ใช้งานระบบร่วมกัน จึงทำให้ระบบช้า โดยเฉพาะในช่วง 11.00 ถึง 16.00 น. (ระบบโหลดช้ามาก ไม่ใช่เข้าไม่ได้) อาจหลีกเลี่ยงการเข้ากรอกข้อมูลในช่วงเวลาดังกล่าว

   หากล็อคอินแล้วขึ้นข้อความ “ท่านไม่มีสิทธิในการแก้ไขข้อมูลหน่วยงานนี้” ดังรูป

   หมายความว่า ไม่ได้เลือกชื่อมหาวิทยาลัย ในช่อง “ชื่อมหาวิทยาลัย” ยังเป็นคำว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ให้เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ” ก่อน

 

   หรือ

   หากใน [ ] เป็นไม่ระบุ อาจะเกิดจากการที่ระบบยังจำการล็อคอินครั้งล่าสุดค้างไว้ ซึ่งถ้าสังเกตุแถบด้านบน อาจปรากฎ username ค้างอยู่ (หรือบางครั้งก็ไม่) ให้เรากด ล็อคเอาต์ ย้ำอีกครั้ง

เอาเป็นว่าอย่างนี้ครับ

   สำหรับหลักสูตร พยายาม ส่งรายงาน ให้เรียบร้อย ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่หลักสูตรรับการตรวจ หรืออย่างช้าสุดคือภายในสิ้นเดือนที่หลักสูตรรับการตรวจ

   เหตุผลเพราะ ตัวบ่งชี้ 1.1 ของคณะและมหาวิทยาลัย เป็นคะแนนเฉลี่ยของผลการตรวจหลักสูตร ซึ่งระบบจะดึงผลตรวจจากที่หลักสูตรกดส่งรายงานไปแสดงในตัวบ่งชี้ดังกล่าวอัตโนมัติ แอดมินและคณะกรรมการตรวจคณะหรือมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถกรอกคะแนนผลตรวจของแต่ละหลักสูตรเองได้ จึงทำให้ไม่สามารถสรุปคะแนนของคณะและมหาวิทยาลัยได้

   สำหรับคณะ พยายาม ส่งรายงาน ให้เรียบร้อย ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่คณะรับการตรวจ หรืออย่างช้าสุดคือภายในสิ้นเดือนที่คณะรับการตรวจ

   เหตุผลคล้ายกับหลักสูตรครับ ถ้าคณะไม่ส่งรายงาน ผลตรวจคณะก็จะไม่แสดงในตัวบ่งชี้ 5.2 ของมหาวิทยาลัย แอดมินและคณะกรรมการตรวจมหาวิทยาลัย ไม่สามารถสรุปคะแนนของมหาวิทยาลัยได้

   สรุป กลับมาที่คำถามว่า ระบบปิดเมื่อไหร่ ขอให้ยึดตามที่บอกดีกว่าครับ อย่างที่ว่าไปครับ ท่านเป็นคนต้นทาง คนปลายทางต้องรอทำงานต่อจากท่าน และคนสุดท้ายที่ต้องยืนยันผลตรวจ แล้วส่งไปยัง สป.อว. ผ่านระบบ คือ ประธานกรรมการที่เชิญมาตรวจมหาวิทยาลัยครับ ซึ่งแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน หากหลักสูตรและคณะส่งรายงานได้ตามระยะเวลาที่บอก วันตรวจมหาวิทยาลัย ประธานก็จะส่งผลตรวจให้ สป.อว. ได้ทันที ซึ่งประธานส่วนใหญ่ก็อยากปิดงานให้เร็วที่สุดครับ ไม่อยากให้งานตัวเองค้างคาหรอก

   ถ้าจำไม่ได้จริงๆ ว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง เหลืออะไรที่ยังไม่ได้ทำ เบื้องต้น คลิกเมนู “รายงานผล” และเลือก “ส่งรายงาน” ส่วนที่ยังขึ้นเครื่องหมาย กากบาท อยู่ คือส่วนที่ยังไม่ทำ

   การส่งรายงาน ของระดับหลักสูตร ทำเพื่อส่งผลการตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน จากคณะกรรมการ ไปยัง สป.อว. และไปประมวลผลต่อในตัวบ่งชี้ระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย “ทางฝั่งหลักสูตรต้องเป็นผู้กดส่งรายงาน” และ “ต้องกดส่งหลังจากคณะกรรมการได้เข้ามาลงผลการตรวจประเมินเรียบร้อยแล้ว”

   จากคำตอบข้อที่แล้ว การส่งรายงาน ของระดับหลักสูตร ทำเพื่อส่งผลการตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน จากคณะกรรมการ ไปยัง สป.อว. และไปประมวลผลต่อในตัวบ่งชี้ระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย ทางฝั่งหลักสูตรต้องเป็นผู้กดส่งรายงาน และต้องกดส่งหลังจากคณะกรรมการได้เข้ามาลงผลการตรวจประเมินเรียบร้อยแล้ว หากกรรมการยังไม่ลงผลการตรวจประเมิน คะแนนที่ถูกส่งไประดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย จะเป็น 0 เนื่องจากระบบจะดึงคะแนนที่เป็นผลตรวจของคณะกรรมการไปประมวลผลเท่านั้น ไม่ส่งคะแนนที่หลักสูตรประเมินตนเองไป

   หากหลักสูตร ส่งรายงาน โดยที่กรรมการยังไม่เข้ามาประเมินผลในระบบให้ จะทำให้ระบบล็อค คณะกรรมการจะไม่สามารถเข้ามาลงผลการตรวจประเมินหลักสูตรได้ ซึ่ง แอดมินหลักสูตรต้องเป็นผู้ปลดล็อคระบบเอง โดยกดปุ่ม “admin tool” เลือกเมนู “ปลดล็อคการส่งหลักสูตร”

   ใส่ “เหตุผล” ที่ต้องการปลดล็อคระบบ แล้วกดปุ่ม “ปลดล็อค”

   อาจารย์สามารถเปลี่ยนเองได้ โดยไปที่หมวด 1 เมนู Input เลือก “อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” ลงมาดูที่ตาราง “อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ณ สิ้นปีการศึกษาที่ประเมิน” แล้ว คลิก “more info” หลังชื่ออาจารย์ที่ต้องการเปลี่ยนข้อมูล

    สามารถเปลี่ยนตำแหน่งทางวิชาการและวุฒิการศึกษา ที่ ข้อมูลส่วนแรก

กลับไปเช็คที่เมนู Input “อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” ลงมาดูที่ตาราง “อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ณ สิ้นปีการศึกษาที่ประเมิน” ว่าได้ใส่อาจารย์ครบ 5 คน (หลักสูตรปริญญาตรี) หรือ 3 คน (หลักสูตรปริญญาโท) ไหม

แนะนำ “ไปดูวิดีโอสอนก่อนดีกว่าครับ”

ส่วนใหญ่ ยังไม่ใส่ผลงานให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ไม่ก็ยังไม่กดบันทึกข้อมูล ในเมนู Input ของหมวด 2 ครับ อยู่ๆ ก็จะข้ามมาประเมินตัวบ่งชี้เลย  

ได้ครับ ใช้วิธีทำไฟล์ตารางผลการเรียนแยกไว้ แล้วแนบลงไปแทน

อยู่ที่หมวด 4 ในเมนู Input เรื่องสุดท้ายเลยครับ

สำหรับหลักสูตรใหม่ ที่ยังไม่มีนักศึกษาขึ้นปี 4 ให้กรอก – ครับ อย่าเว้นไว้

หัวข้อต่างๆ ในเมนู Input ไม่ต้องกรอกครบทุกตัวก็ได้ครับ ยกเว้น ความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย ที่ถ้าไม่มีข้อมูลให้ ใส่ –

ยังไม่ใส่ “ชื่อคณะกรรมการ” ที่มาตรวจหลักสูตรครับ ไปใส่ที่เมนู “รายงานผล” เลือก “รายนามคณะผู้ประเมิน”

   กรอกแล้ว เป็นแบบในรูปนี้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ แปลว่า ยังไม่ได้กรอกครับ แนะนำ ดูคลิปนี้ครับ >>> คลิก

ยังไม่กรอก “จุดเด่นหรือจุดควรพัฒนา สำหรับการประเมินตนเอง” ครับ ขออธิบายเพิ่มนิดนึง ส่วนนี้คือ ให้เรา ประเมินการดำเนินงานของหลักสูตรเรา ครับ ว่า อะไรคือจุดเด่นของเรา อะไรบ้างที่เรายังต้องพัฒนาอีก ดังนี้ครับ

1. จุดเด่น – จุดเด่นของหลักสูตรเราคืออะไร

2. แนวทางเสริมจุดเด่น (ถ้ามี) – มีแนวทางอย่างไรที่เสริมให้ข้อ 1 ดียิ่งขึ้น

3. จุดควรพัฒนา – มีเรื่องอะไรบ้างที่เรายังต้องพัฒนาให้ดีขึ้นอีก

4. แนวทางปรับปรุง – มีแนวทางอย่างที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงประเด็นในข้อที่ 3*

* ให้อธิบายในบริบทของตัวหลักสูตรเอง ว่าหลักสูตรควรจะพัฒนาอย่างไร ไม่ใช่ คณะหรือมหาวิทยาลัย ควรจะพัฒนาอะไรให้หลักสูตร เพราะส่วนนั้นก็จะไปอยู่ใน “แนวทางปรับปรุง” ของคณะหรือมหาวิทยาลัย อยู่แล้วครับ เราพูดในบริบทเราพอ

ระดับคณะ

ข้ามไปทำข้อ 2.2 กับ 2.3 ก่อนครับ แล้วระบบดึงตัวเลขอาจารย์จาก 2 ข้อนี้ ไปแสดงใน ข้อ 1.2 กับ 1.3