แนวทางการหาข้อมูลสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565

คำเตือน

***หากท่านไม่มีความเข้าใจในเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร โปรด “สละเวลา” อ่านคำอธิบายและข้อสังเกตุของข้อมูลแต่ละตัว เพื่อให้เข้าใจที่มา แนวคิด รวมถึงข้อแนะนำหากพบเจอปัญหา ก่อนนำข้อมูลไปใช้ และศึกษาเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรได้ที่ เมนู Download > คู่มือ***

ตัวบ่งชี้ 2.1

ความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อบัณฑิต (ตบช 2.1)

คำอธิบายข้อมูล

คะแนนที่ได้จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต, นายจ้าง, ผู้ประกอบการที่มีต่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาใน “ปีการศึกษา 2564” เท่านั้น ซึ่งจำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมิน ต้องไม่น้อยกว่า 20% ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

ผู้ให้ความอนุเคราะห์จัดทำข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนา (คุณกนกวรรณ, คุณวันนิวัติ)

แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา CLICK

ตัวบ่งชี้ 2.2

ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต (ตบช 2.2)

คำอธิบายข้อมูล

จำนวนของบัณฑิตที่มีงานทำและประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาใน ปีการศึกษา 2563 ซึ่งจำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสอบถามภาวะมีงานทำ ต้องไม่น้อยกว่า 70% ของบัณฑิตสำเร็จการศึกษา

ผู้ให้ความอนุเคราะห์จัดทำข้อมูล : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (คุณนราธิป)

แหล่งข้อมูลและการนำไปใช้ (***จุดนี้มีคนนำข้อมูลไปใช้ผิดบ่อย***) : https://jobdd.rmutk.ac.th/login

หลังจากเลือกปีการศึกษา ให้ดูหัวข้อ “ข้อมูลการมีงานทำ” เลือก “สรุปกลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์/สังสมศาสตร์”

จะพบตารางที่ใช้ในการคำนวนคะแนนตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ให้ใช้ตัวเลขในตารางดังภาพนี้เท่านั้น

***ข้อควรระวัง ตารางในหัวข้อ ผู้ตอบแบบสอบถาม มีไว้ตรวจสอบ ติดตามกรอกข้อมูลของนักศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีไว้นำไปคำนวนคะแนนตัวบ่งชี้ จำนวนคอลัมน์ตารางนี้กับแบบฟอร์มใน SAR มันไม่เท่ากัน ต้องพยายามนำตัวเลขในตารางด้านล่างนี้ไปกรอกใน SAR นะครับ

แนวทางแก้ปัญหา หากบัณฑิตตอบแบบสอบถามไม่ถึง 70%

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถดูรายชื่อของบัณฑิตที่ “ยังไม่ตอบแบบสอบถาม” ได้ผ่านระบบ https://jobdd.rmutk.ac.th/login

เลือกปีการศึกษา 2563 ดูหัวข้อ “ผู้ตอบแบบสอบถาม” เลือก “สรุปรายสาขาวิชาป.ตรี/โท”

ให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2563 ที่ยังไม่ตอบแบบสอบถามภาวะการมีงานทำ เข้าไปตอบแบบสอบถามในระบบ https://jobdd.rmutk.ac.th/login

ตัวบ่งชี้ 3.3

อัตราการคงอยู่/อัตราการสำเร็จการศึกษา

คำอธิบายข้อมูล

***รูปแบบการแสดงข้อมูลและสูตรการคำนวน อ้างอิงจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของ สป.อว. โปรดศึกษาที่มาและเจตนารมณ์ของเกณฑ์ให้เข้าใจก่อนจากคู่มือให้ดีก่อนจะนำข้อมูลไปอ้างอิงในเล่ม SAR***

อัตราการคงอยู่

ร้อยละของจำนวนนักศึกษาแต่ละรุ่น ที่คงอยู่ในปีสุดท้าย (***ขึ้นปี 4***) เมื่อเทียบกับปีแรกที่เข้ามา โดยนำร้อยละที่ได้เทียบแนวโน้ม 4 ย้อนหลัง
***จำนวนคงอยู่ในปีสุดท้าย ไม่ได้หมายถึง จำนวนนักศึกษาเหลือที่ยังไม่จบตามเกณฑ์ เพราะฉะนั้นจำนวนนักศึกษาที่สำเร็จจะไม่เกี่ยวกับการคำนวนส่วนนี้

ตัวอย่าง จำนวนนักศึกษาที่รับเข้ามาในปีการศึกษา 2556 มีจำนวน 35 คน จาก 35  คนนี้ศึกษาต่อเนื่องจนถึงปี 4 (ปีสุดท้าย) 28 คน อีก 7 คน อาจลาออกหรือถูกรีไทร์ไประหว่าง คิดเป็นร้อยละคงอยู่ ของเด็กรุ่นนี้ 28/35*100 = 80%

อัตราการสำเร็จการศึกษา

ร้อยละของจำนวนนักศึกษาแต่ละรุ่น ที่สำเร็จการศึกษา (เฉพาะนักศึกษาที่จบตามเกณฑ์) เมื่อเทียบกับปีแรกที่เข้ามา โดยนำร้อยละที่ได้เทียบแนวโน้ม 4 ย้อนหลัง

ตัวอย่าง จำนวนนักศึกษาที่รับเข้ามาในปีการศึกษา 2556 มีจำนวน 35 คน จาก 35  คนนี้สำเร็จการศึกษาตรงรุ่น 4 คน คิดเป็นร้อยละการสำเร็จของเด็กรุ่นนี้ 4/35*100 = 11.43%

*** นับเฉพาะนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตรงรุ่นในแต่ละรุ่นเท่านั้น จำนวน 31 คนที่เหลือจากรุ่นปี 2556 หากไปจบในปีการศึกษาอื่น จะ “ไม่ถูกนำไปคิดรวมกับรุ่นอื่นๆ” (จำนวนนักศึกษา 17 คน ที่จบในปีการศึกษา 2561 คือจำนวนนักศึกษา เฉพาะที่รับเข้าในปี 2557)

ผู้ให้ความอนุเคราะห์จัดทำข้อมูล : สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน (คุณวีระยา)

แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา CLICK

ตัวบ่งชี้ 3.1 3.2 3.3 6.1

ความพึงพอใจต่อกระบวนการรับนักศึกษา (ตบช 3.1)
ความพึงพอใจต่อการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา (ตบช 3.2)
ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร (ตบช 3.3)
พึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (ตบช 6.1)
ความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อหลักสูตร

คำอธิบายข้อมูล

คะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดการของหลักสูตรในด้านต่างๆ ซึ่งนักศึกษาจะเข้าไปประเมินผ่านระบบ MIS

ผู้ให้ความอนุเคราะห์จัดทำข้อมูล : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (คุณนราธิป)

แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ mis.rmutk.ac.th > รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ 4.3

ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตร (ตบช 4.3)   

คำอธิบายข้อมูล

คะแนนความพึงพอใจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษา

วิธีการหาข้อมูล

ให้อาจารย์ทุกคน เข้าประเมินความพึงพอใจบุคลากร ในเว็บ mis.rmutk.ac.th แล้วล็อคอินเข้าสู่ระบบก่อน ด้วยยูสเซอร์เนมเดียวกันกับที่ใช้เข้าอินเตอร์เน็ต เมนูประเมินจะปรากฎที่ด้านซ้ายของจอ (ดาวสีเหลือง)

ข้อควรระวัง *จุดที่มีปัญหาบ่อย*

ในส่วนแรกของการทำแบบประเมิน ให้เฉพาะ “อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” ปัจจุบันเท่านั้น (3 หรือ 5 คนตามเล่มหลักสูตร) คลิกเลือก “เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” และเลือกชื่อหลักสูตรของตัวเองรับผิดชอบ ส่วน อาจารย์คนอื่นๆ ในหลักสูตร (อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอน) ให้คลิกเลือก “ไม่เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” ตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนทำแบบประเมินส่วนถัดไป

ผู้ให้ความอนุเคราะห์จัดทำข้อมูล : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (คุณนวพร)

แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ mis.rmutk.ac.th > รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

 15 total views,  4 views today